วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ความเชื่อในการเลี้ยงแมว

ความเชื่อในการเลี้ยงแมว


  แมวไทยที่นิยมเลี้ยงมีหลายชนิดคนที่เลี้ยงแมวเพราะความชื่นชอบจริงๆจะเลี้ยงได้ทุกชนิดทั้งแมวบ้าน แมวจรจัดหรือแมวที่มีลักษณะเป็นมงคล นอกจากชื่นชอบอาจเลี้ยงด้วยความเมตตาสงสารเพียงเพราะเห็นแมวเหล่านั้นมีความสวยงามน่ารัก ส่วนคนที่มีความเชื่อเรื่องแมวอาจจะเลือกเลี้ยงเฉพาะแมวไทยที่มีลักษณะเป็นมงคล เช่น แมววิเชียรมาศ แมวสีทองซึ่งเป็นแมวที่มีขนสีทองทั้งตัว และแมวสีสวาทตามความเชื่อของไทยเรา ก็มีเรื่องราวของเรื่องแมวๆ เช่นนี้เหมือนกัน กับลักษณะที่ดีของ "แมวมงคล" 


1. แมวลายเสือ
เลี้ยงไว้จะปราบ นก หนู งู ในบ้านดีนัก

2. แมวด่าง
เป็นแมวให้คุณ ต้องด่างดูสะอาดตา ไม่ด่างเปรอะเปื้อนไปทั่วทั้งตัว

3.แมวสีดำ
ไม่ควรเลี้ยงในบ้าน เพราะเป็นแมวคราว มีผีสิงให้เอาไปปล่อยวัด เพราะจะทำให้เจ้าของและบริวารเจ็บไข้ได้ป่วย


4.แมวสีทอง
เป็นแมวเจ้าสำราญ เลี้ยงไว้ในบ้านจะมีเสน่ห์ แต่ขาดลาภ แมวก็เกียจคร้าน ไม่ควรเลี้ยงไว้ในบ้าน


5.แมวสีทองแดง
เป็นแมวเจ้าเสน่ห์ ไม่ควรเลี้ยงไว้เกิน 2 ตัว ในบ้านเดียวกัน เพราะจะให้โทษในเชิงการพนันและการเลี่ยงโชค


6.แมวสีเทา
เป็นแมวนักปราชญ์ ควรเลี้ยงไว้ในบ้านเรือน จะทำให้ลูกหลานก้าวหน้าในวิชาการ


7.แมวสีขาวด่าง เหลืองหรือดำ
เป็นแมวเจ้าชู้ ไม่ชอบทำงาน ไม่ชอบจับหนู เอาแต่เที่ยว ไม่ควรเลี้ยงไว้ในบ้าน จะทำให้อับโชค


8.แมวปากมอมข้อเท้าดำ
เป็นแมวขโมย ไม่ควรเลี้ยงไว้ในบ้าน เพราะจะทำให้เสียทรัพย์ และเสียของรัก


9.แมวสีขาวปลอด
เป็นแมวเทพเจ้า ควรเลี้ยงในบ้าน จะค้ำคูณเจ้าของ นำโชคลาภมาให้ 

10.แมวสีสวาท
เป็นแมวเศรษฐี ควรเลี้ยงไว้ในบ้าน จะทำให้เจ้าของประสบโชคดี และค้าขายหรือทำกิจการเจริญก้าวหน้า



11.แมวสีเก้าแต้ม
จะมีสีอะไรก็ตาม แต่ต้องมีสีตามร่างกาย 9 แห่ง เป็นแมวเก้าชีวิต จะนำความสุขความเจริญมาให้เจ้าของ



12.แมวหางขอดและสั้น
เป็นแมวหาเช้ากินค่ำ ไม่ควรเลี้ยง จะทำให้เจ้าของอาภัพทรัพย์สิน


13.แมวหางขอดแต่มีหางยาว
เป็นแมวมหาอำนาจ เจ้าของจะได้เป็นใหญ่เป็นโต มีวาสนา บริวารดีนัก



14.แมวหูดำตาดำ
สันหลังดำ เป็นแมวยมทูต ไม่ควรเลี้ยงในบ้านเกิน 2 ตัว ถ้ามีตัวเดียวจะดี ถ้ามากจะทำให้เจ้าของมีแต่ความทุกข์ยากลำบากใจ


15.แมวสีเทานัยน์ตารี่เล็ก
เป็นแมวปัญจมหาเศรษฐี เวลากลางวันจะออกหากิน ไม่ยอมเงยหน้า เว้นแต่เวลาหาอาหารตอนกลางคืน จะมีขี้ตาอยู่เสมอ เป็นแมวมีนัยน์ตาแก้วค่าควรเมือง หรือที่เรียกว่า "คดตาแมว" หากมันจ้องมองจิ้งจกหรือนกบนที่สูง

E-book




          หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Book  หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอรมีลักษณะคล้ายหนังสือจริง สามารถเปิดอ่านได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์และมีลักษณะพิเศษคือสามารถสื่อสารกับผู้อ่านในลักษณะของมัลติมีเดียได้ ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง แต่ยังคงรักษารูปแบบความเป็นหนังสือไว้ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หรือลักษณะการเปิดอ่าน
        E-Book สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่สนับสนุนการเรียนให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาวิชาได้เร็วและดีขึ้น กล่าวคือ    เป็นสื่อที่รวมเอาจุดเด่นของสื่อแบบต่างๆ มารวมอยู่ในสื่อตัวเดียว คือ สามารถแสดงภาพ แสง เสียง ภาพเคลื่อนไหว และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ มีลักษณะไม่ตายตัว สามารถแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงไปสู่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้โดยใช้ความสามารถของไฮเปอร์เท็กซ์  และถ้าหากว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตจะทำให้การกระจายสื่อทำได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขว้างสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้เรียนสามารถศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา จาก งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและการพัฒนาการเรียนการสอนที่ใช้ E-Book พบว่าการให้การแก้ปัญหาและพัฒนาเรื่องนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินการได้ทุกเรื่อง

ที่มา: http://www.mindphp.com


ความเป็นมาของ eBook 

   การใช้งาน eBook ในยุคแรกๆ มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในกระบวนการฟรีเพรส หรือการเตรียมเอกสารก่อนการพิมพ์สิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร ฯลฯ ก่อนจะทำเพลท เพื่อพิมพ์หนังสือ เพราะการนำ ไฟล์เอกสารที่จัดรูปเล่มแล้วไปยิงฟิล์ม จะมีปัญหาเรื่องแบบของตัวหนังสืออาจไม่เข้ากัน การจัดรูปเล่มที่ทำไว้ ก็จะผิดพลาดไป ข้อความขยับไปอีกหน้า ภาพเลื่อนไปตำแหน่งอื่นๆ ฯลฯ ทำให้เสียเวลาแก้ไข จึงได้มีการ คิดค้นการสร้างไฟล์แบบ PDF ซึ่งเป็นอีบุ๊คในยุคแรกๆ แต่ก็ยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เมื่อแปลงไฟล์เอกสารที่จะนำไปพิมพ์เป็นหนังสือแล้ว ก็จะได้ไฟล์แบบ PDF ด้วยความที่ไฟล์แบบ PDF ที่ได้ มีลักษณะเหมือน หนังสือจริงๆ จึงเป็นที่มาของ eBooks 

   

ไฟล์เอกสารแบบใดจึงจะเรียกว่าอีบุ๊ค

   บุ๊คหรือหนังสือจริงๆ จะมีส่วนประกอบมีหน้าปก มีคำนำ สารบัญ เนื้อหาแยกเป็นบทๆ พิมพ์ลงกระดาษจริงๆ เป็นรูปเล่มที่จับต้องได้ ส่วนอีบุ๊คจะมีลักษณะเหมือนกันทุกอย่าง แต่เป็นไฟล์เอกสารที่ต้องอ่านจากหน้า จอคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ตพีซี สะดวกมากกว่าตรงที่ไม่ต้องใช้พื้นที่เก็บเหมือนหนังสือจริงๆ ในคอมพิวเตอร์ มือถือหรือแท็บเล็ต 1 เครื่อง สามารถเก็บหนังสือได้หลายพันเล่ม                                                                                                   
ที่มา: http://www.siamebook.com
วิธีการอ่านอีบุ๊ค

   เราสามารถอ่านอีบุ๊คได้หลายวิธี แต่ในปัจจุบันแท็บเล็ตและมือถือแบบสมาร์ทโฟนได้รับความนิยมมาก การอ่านอีบุ๊คด้วยแท็บเล็ตหรือมือถือเหล่านี้จะสะดวกกว่าอ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพราะสามารถพกพาติด ตัวได้ตลอดเวลา จากตัวอย่าง หากใช้แท็บเล็ตขนาดหน้าจอประมาณ 10 นิ้ว ขนาดตัวหนังสือจะใกล้เคียงกับหนังสือขนาดพ็อกเก็ตบุ๊คมากที่สุด การแสดงหน้าจะพอดีในหน้าจอ อ่านง่ายที่สุด ส่วนการอ่านจากมือถือ ควรเลือกใช้รุ่นที่หน้ากว้าง 4.3 นิ้วขึ้นไป หรือ 5 นิ้วดีที่สุด แม้จะมีขนาดใหญ่ แต่ก็ยังสามารถพกพาได้


วิธีการสร้างอีบุ๊ค 





ที่มา: https://youtu.be/dWr3rWoUCkM


วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561

โวหารภาพพจน์

     โวหารภาพพจน์ คือ กลวิธีการนำเสนอสารโดยการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูด หรือเขียนให้แปลกออกไปจากภาษาตามตัวอักษรทำให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจ เกิดความประทับใจ เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจน
ลักษณะของโวหารภาพพจน์ ได้แก่ อุปมา อุปลักษณ์ ปฏิพากย์ อติพจน์ บุคลาธิษฐาน สัญลักษณ์ นามนัย สัทพจน์ ซึ่งโวหารแต่ละชนิดจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน
        อุปมา อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “เหมือน” เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราวกับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปาน ประหนึ่ง เพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ฯลฯ
ตัวอย่างเช่น
ทนต์แดงดั่งแสงทับทิม เพริศพริ้มเพรารับกับขนง
(อิเหนา)

        อุปลักษณ์  อุปลักษณ์ คือ การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับอุปมาคือเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน มีวิธีสังเกต ๒ วิธีได้แก่
๑. มีคำว่า “คือ” “เป็น” และมีนัยเชิงเปรียบเทียบ เช่น เธอคือนางฟ้าในใจ
๒. ละคำว่า “คือ” “เป็น” เช่น ทะเลดาว, เพชรน้ำค้าง
ตัวอย่างเช่น
ถึงห้วยโป่งเห็นธารละหานไหล   คงคาใสปลาว่ายคล้ายคล้ายเห็น
มีกรวดแก้วแพรวพรายรายกระเด็น   บ้างแลเห็นเป็นสีบุษราคัม
(นิราศเมืองแกลง)

        บุคคลวัต หรือ บุคลาธิษฐาน  การสมมุติสิ่งต่าง ๆ ให้มีกิริยาอาการ ความรู้สึกเหมือนมนุษย์
ตัวอย่างเช่น
ต้นไม้แต่งตัว อยู่ในม่านมัวของหมอกคราม
บ้างลอกเปลือกอยู่ปลามปลาม บ้างแปรกิ่งประกบกัน
บ้างปลิวใบสยายลม บ้างชื่นชมช่อชูชัน
บ้างแตกกิ่งอวดตาวัน บ้างว่อนไหวจะร่ายรำ
(เพลงขลุ่ยผิว, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์) 

        อติพจน์  อติพจน์ คือ การเปรียบเทียบโดยการกล่าวข้อความที่เกินจริง มักเปรียบเทียบในเรื่องปริมาณว่ามีมากเหลือเกิน มีเจตนาเน้นข้อความที่กล่าวนั้นให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น
เสียงไห้ทุกราษฎร์ไห้ ทุกเรือน
อกแผ่นดินดูเหมือน จักขว้ำ
บเห็นตะวันเดือน ดาวมือ มัวนา
แลแห่งใดเห็นน้ำ ย่อมน้ำตาคน
(ลิลิตพระลอ)

        สัญลักษณ์   สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดนทั่วไป
ตัวอย่างเช่น
นกพิราบ แทน สันติภาพ เมฆหมอก แทน อุปสรรค
สีดำ แทน ความตาย ความชั่วร้าย สีขาว แทน ความบริสุทธิ์
หงส์ แทน คนชั้นสูง กา แทน คนต่ำต้อย
ลา แทน คนโง่ คนน่าสงสาร สุนัขจิ้งจอก แทน คนเจ้าเล่ห์ดอกไม้ แทน ผู้หญิง

        นามนัย   นามนัย คือ การใช้คำหรือวลีที่บ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาแสดงความหมายแทน สิ่งนั้นทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น
หัวหงอก แทน คนเฒ่าคนแก่ หัวดำ แทน คนหนุ่มคนสาว
เมืองโอ่ง แทน จังหวัดราชบุรี เมืองย่าโม แทน จังหวัดนครราชสีมา
ทีมเสือเหลือง แทน ทีมมาเลเซีย ทีมสิงโตคำราม แทน ทีมอังกฤษ
ฉัตร แทน กษัตริย์ เก้าอี้ แทน ตำแหน่ง

        สัทพจน์   สัทพจน์ คือ การเปรียบเทียบโดยใช้คำเลียนแบบให้เห็นท่าทาง แสง สี ได้ยินเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ หลายอย่างรวมกันก็ได้ มักจะพบในความเป็นธรรมชาติ หรือเครื่องดนตรี หรือเครื่องใช้ตามวิถีชาวบ้าน
ตัวอย่างเช่น
เสียงโหม่ง หม่อง ฆ้องตีเคล้าปี่พาทย์ เสียงเตรง เตร่ง ระนาดชัดจังหวะ
เสียงตะโพน เท่งติง ติง เท่งป๊ะ เสียงกลองแขก โจ๊ะ จ๊ะ โจ๊ะ โจ๊ะ
( มโหรีชีวิต : แก้วตา ชัยกิตติภรณ์ ) 

        ปฏิพากย์   ปฏิพากย์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันมากล่าวอย่างกลมกลืนเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น
เธอตายเพื่อจะปลุกให้คนตื่น เธอตายเพื่อผู้อื่นนับหมื่นแสน
เธอเป็นดินก้อนเดียวในดินแดน แต่จะหนักและจะแน่นเต็มแผ่นดิน
(กระทุ่มแบน, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์) 

        ปฏิปุจฉา หรือ คำถามเชิงวาทศิลป์   ปฏิปุจฉา หรือ คำถามเชิงวาทศิลป์ คือ การตั้งคำถามแต่มิได้หวังคำตอบ หรือ ถ้ามีคำตอบก็เป็นคำตอบที่ทั้งผู้ถามเเละผู้ตอบรู้ดีอยู่เเล้ว นักเขียนจะใช้คำถามเชิงวาทศิลป์เพื่อเร้าอารมณ์ผู้อ่าน หรือสื่อความหมายเเละข้อคิดที่ต้องการ
ตัวอย่างเช่น
            เห็นเเก้วแวววับที่จับจิต            
ไยไม่คิดอาจเอื้อมให้เต็มที่
เมื่อไม่เอื้อมจะได้อย่างไรมี    
อันมณีหรือจะโลดไปถึงมือ
(ท้าวแสนปม)

วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2561

มหาเวสสันดรชาดก

มหาเวสสันดรชาดก

        มหาชาติ เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุมและในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก
ความเป็นมา
เวสสันดรชาดกนี้เป็นเรื่องใหญ่จัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่ 
๑๐ เรื่อง
ที่เรียกกันว่า  ทศชาติ  แต่อีก ๙ เรื่อง  ไม่เรียกว่ามหาชาติ  คงเรียกแต่เวสสันดรชาดก
เรื่องเดียวว่า  มหาชาติ  ข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
โปรดประทานอธิบายว่า  พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศใกล้เคียงนับถือกันมาแต่โบราณว่า
เรื่องมหาเวสสันดรชาดก  สำคัญกว่าชาดกอื่น ๆ ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์
ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง 
๑๐ บารมี

อานิสงส์การฟังเทศน์มหาชาติ  การตั้งใจฟังเทศน์มหาชาติให้จบเพียงวันเดียวครบบริบูรณ์ ทั้ง ๑๓ กัณฑ์จะเป็นเหตุให้สำเร็จความปรารถนาทุกประการดังนี้
          ๑.  เมื่อตายจากโลกนี้แล้ว  จะมีโอกาสได้พบพระพุทธเจ้า  พระนามว่า  ศรีอริยเมตไตย  ในอนาคต
          ๒.  เมื่อดับขันธ์ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์  จะเสวยทิพยสมบัติมโหฬาร
          ๓.  เมื่อตายไปแล้วจะไม่ตกนรก
          ๔.  เมื่อถึงยุคพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศรีอริยเมตไตย  จะได้จุติไปเกิดเป็นมนุษย์
          ๕.  ได้ฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธองค์  จะได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระอริยบุคคล  ในบวรพุทธศาสนา

มูลเหตุการณ์เล่าเรื่องมหาชาติ
          คัมภีร์ธัมมบทขุททกนิกายกล่าวว่า  เรื่องเวสสันดรชาดกเป็นพุทธดำรัสที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ขีณาสพสองหมื่นรูป  และพระประยูรญาติที่นิโครธารามหาวิหารในนครกบิลพัสดุ์  ในคราวเสด็จโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา  และพระวงศ์ศากยะบรรดาพระประยูรญาติไม่ปรารถนาจะทำความเคารพพระองค์  ด้วยเห็นว่าอายุน้อยกว่า
          พระองค์ทรงทราบความคิดนี้จึงทรงแสดงยมกปกฏิหาริย์  โดยเสด็จขึ้นเบื้องนภาอากาศแล้วปล่อยให้ฝุ่นละอองธุลีพระบาทตกลงสู่เศียรของพระประยูรญาติทั้งหลาย พระประยูรญาติจึงได้ละทิ้งทิฐิแล้วถวายบังคมพระพุทธเจ้า  ขณะนั้นได้เกิดฝนโบกขรพรรษ พระภิกษุทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์จึงได้ทูลถาม  พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต  แล้วจึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก  หรือเรื่องมหาชาติให้แก่พระภิกษุและพระประยูรญาติ

          มหาเวสสันดรชาดก  เป็นชาดกที่มีความสำคัญมากกว่าชาดกอื่น ๆ เพราะพระบารมีของพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบริบูรณ์ในพระชาตินี้  มหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๐ บารมี  คือ

ทานบารมี  = ทรงบริจาคทรัพย์สิน  ช้าง  ม้า ราชรถ  พระกุมารทั้งสองและพระมเหสี
ศีลบารมี  = ทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัดระหว่างทรงผนวชอยู่ ณ เขาวงกต
เนกขัมมบารมี  = ทรงครองเพศบรรพชิตตลอดเวลาที่ประทับ ณ เขาวงกต
ปัญญาบารมี  = ทรงบำเพ็ญภาวนามัยปัญญาตลอดเวลาที่ทรงผนวช
วิริยาบารมี  = ทรงปฏิบัติมิได้ย่อหย่อน
สัจจบารมี  = ทรงลั่นพระวาจายกกุมารให้ชูชก เมื่อพระกุมารหลบหนีก็ทรงติดตามให้
ขันติบารมี  = ทรงอดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ขณะที่เดินทางมายังเขาวงกต  และตลอดเวลาที่ประทับ ณ ที่นั่น  แม้แต่ตอนที่ทอดพระเนตรเห็นชูชกเฆี่ยนตีพระกุมารอย่างทารุณพระองค์ก็ทรงข่มพระทัยไว้ได้
เมตตาบารมี  = เมื่อพราหมณ์เมืองกลิงคราษฎร์  มาทูลขอช้างปัจจัยนาค  เนื่องจากเมืองกลิงคราษฎร์ฝนแล้ง  ก็ทรงพระเมตตตาประทานให้  และเมื่อชูชกมาทูลขอสองกุมาร  อ้างว่าตนได้รับความลำบากต่าง ๆ พระองค์ก็มีเมตตาประทานให้ด้วย
อุเบกขาบารมี  = เมื่อทรงเห็นสองกุมารถูกชูชกเฆี่ยนตี  วิงวอนให้พระองค์ช่วยเหลือ  ทรงบำเพ็ญอุเบกขา  คือทรงวางเฉย  เพราะทรงเห็นว่าได้ประทานเป็นสิทธิ์ขาดแก่ชูชกไปแล้ว
อธิษฐานบารมี  = คือทรงตั้งมั่นที่จะบำเพ็ญบารมีเพื่อให้สำเร็จโพธิญาณาเบื้องหน้าก็มิได้ทรงย่อท้อ
จนพระอินทร์ต้องประทานความช่วยเหลือต่าง ๆ เพราะพระทัยอันแน่วแน่ของพระองค์